ทีมนักวิจัยโครงการTAPHIA
- ศาสตราจารย์จอฮ์น เชอรรี่ เป็นศาสตราจารย์ทางด้านสุขภาพประชากร มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ และหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของสถาบันอาชีวเวชศาสตร์ ท่านเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย TAPHIA ฝั่งสหราชอาณาจักร ท่านมีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในระดับนานาชาติมากมาย เป็นผู้นำในโครงการวิจัยขนาดใหญ่ของกลุ่มสหภาพยุโรป เช่น การสำรวจความสัมพันธ์ของสุขภาพกับสิ่งแวดล้อมในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ (HEALS) ซึ่งได้มีการพัฒนาวิธีการจำแนก exposome เพื่อใช้ในการศึกษาทางระบาดวิทยา นอกจากนี้ท่านยังสนใจและมีประสบการณ์ด้านการวิจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและOccupational epidemiologyโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการประเมินการรับสัมผัสอย่างละเอียด ท่านมีความเชี่ยวชาญในการประเมินผลจากการเทคโนโลยีในการควบคุมทางสิ่งแวดล้อม และการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลจากการทำงาน (PPE) ท่านเป็นผู้ร่วมวิจัยในโครงการศึกษาผลกระทบจากมลพิษทางอากาศต่อโรคทางหัวใจและปอดในเมืองปักกิ่งและเป็นหัวหน้าโครงการในการศึกษาการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของกลุ่มคนงานก่อสร้างในสิงค์โปร์ สนับสนุนทุนวิจัยโดย สถาบันสุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงานแห่งสิงคโปร์
- รศ.ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย TAPHIA ฝั่งไทย) มีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ทางด้านการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม (EHIA) และแบบจำลองทางสิ่งแวดล้อมในการจัดการทางสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน อาจารย์มีประสบการณ์มากมายทสงด้านงานวิจัยเช่น การตรวจสอบทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขาภิบาลในกลุ่มผู้อพยพที่เข้ามาอาศัยในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณชายแดนไทยและประเทศเพื่อนบ้าน การศึกษาการใช้สารเคมีและความเสี่ยงต่อสุขภาพของเกษตรกรไทยซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) การศึกษาความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการใช้น้ำรีไซเคิลหรือใช้ซ้ำได้รับทุนสนับสนุนจาก JICA โครงการศึกษาผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจก จากกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP)ตัวชี้วัดด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และสังคมสีเขียว สนับสนุนโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และแผนต้นแบบสำหรับการดำเนินการในท้องถิ่นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสนับสนุนโดย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน และอื่น ๆ
- ฟินตัน เฮอเลย์ เป็นนักระบาดวิทยา และหัวหน้านักวิจัยที่สถาบันอาชีวเวชศาสตร์ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในระดับนานาชาติทางด้านการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพในเชิงนโยบายสิ่งแวดล้อมมากกว่า 25 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมลพิษทางอากาศภายนอกอาคาร ท่านยังเป็นผู้พัฒนาวิธีการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว โปรแกรม ExternE ของกลุ่มวิจัย European Commission DG Researchปี 1991-2005 และเขายังเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศแห่งสหราชอาณาจักร มากกว่า 20 ปี นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกในหลายกลุ่มที่ทำงานด้านผลกระทบต่อสุขภาพ และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศขององค์การอนามัยโลก (WHO) สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา (US EPA) และสถาบันระดับนานาชาติอื่น ๆ
- ดร.ฮิลิเนอร์ จอห์นสตัน เป็นอาจารย์ด้านพิษวิทยาประจำมหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์และเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบด้านพิษวิทยาโดยใช้แบบจำลองต่าง ๆ เช่น เซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ระบบภูมิคุ้มกัน ปอด กระเพาะอาหาร ผิวหนัง) แบคทีเรีย สัตว์ฟันแทะ สิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม (หนอน ไรสาหร่าย) ซึ่งมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ทางด้านพิษวิทยาและมีตำแหน่งต่าง ๆ ทั้งในสถานศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และรัฐบาล ผลงานของท่านได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารทางวิชาการมากกว่า 35 บทความ และเธอยังถูกเชิญไปเป็นผู้พูดในงานประชุมทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
- ดร. มิเรนดาร์ ลอห์ เป็นนักวิทยาศาสตร์อาวุโสประจำสถาบันอาชีวเวชศาสตร์ และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตรวจวัดการรับสัมผัสในหลายรูปแบบ งานวิจัยของเธอมุ่งเน้นในเรื่องการตรวจวัดทางตัวชี้วัดทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม ท่านได้พัฒนาระบบการประเมินการรับสัมผัสตัวบุคคลต่อตัวก่อความเครียดหลายตัว ในโครงการ European Commission-funded HEALS เพื่อใช้ในการตรวจวัดชุดของการรับสัมผัสทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ นอกจากนี้ท่านยังเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยฝั่งสหราชอาณาจักร ในโครงการมลพิษทางอากาศและสุขภาพของประชาชนในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน (APIC-ESTEE) ได้รับทุนสนับสนุนจาก NERC-MRC-NSFC
- รศ.ดร. กาญจนา นาคภากร เป็นอาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ งานวิจัยหลักที่สนใจจะมุ่งเน้นในเรื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการประยุกต์แบบจำลองด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เช่น การประเมินความอ่อนไหวของชายฝั่ง การวิเคราะห์การระบาดเชิงพื้นที่ การเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นต้น โดยงานวิจัยในปัจจุบันของอาจารย์ได้ศึกษาเกี่ยวกับการค้นคว้าหากลยุทธ์ใหม่ เพื่อใช้ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกทั้งในและบริเวณรอบข้างพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค สำหรับหน่วยงานของรัฐในระดับท้องถิ่น ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสมาคม DENFREE และการสำรวจชีวมวลเหนือพื้นดินโดยใช้เทคโนโลยีไลดาร์ นอกจากนี้ยังได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมกับเชื้อก่อโรคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
- ดร. นรุต สหนาวิน เป็นอาจารย์ประจำสาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะพละศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมีความเชี่ยวชาญในด้านการตรวจวัดคุณภาพอากาศ อาจารย์มีประสบการณ์มากกว่า 6 ปี ในการสอนและงานวิจัยทางด้านคุณภาพอากาศและเรื่องที่เกี่ยวข้องทางสิ่งแวดล้อม อาจารย์มีประสบการณ์ในการวิเคราะห์และจำแนกปัจจัยที่มีต่อคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์ในการเก็บตัวอย่างคุณภาพอากาศในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งภายในและภายนอกอาคาร สำหรับการรายงานยืนยันผลในโครงการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม
- ดร. รัฐพล ศิลปรัศมี เป็นอาจารย์ประจำคณะสาธารณสุข วิทยาลัยนครราชสีมา วิทยาเขตกรุงเทพ และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองการกระจายตัวของอากาศ เขามีประสบการณ์ในเรื่องของแบบจำลองการใช้ที่ดินและคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์มากกว่า 8 ปี ในการใช้ระบบพลศาสตร์สำหรับการจัดการคุณภาพอากาศ และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม
- ศาสตราจารย์ วิกกี้ สโตนน์ เป็นศาสตราจารย์ด้านพิษวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์และเป็นผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเป็นพิษของอนุภาคต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ท่านมีประสบการณ์มากมายในการใช้แบบจำลองทั้งทางห้องปฏิบัติการและในสัตว์ เพื่อประเมินความเป็นอันตรายของอนุภาคต่าง ๆ เธอมีบทความวิจัยด้านพิษวิทยามากกว่า 150 เรื่อง และยังได้รับการยอมรับจาก Thomson Reuters ให้เป็นหนึ่งในนักวิจัยเพียง 1% ของโลกที่มีการอ้างอิงบทความมากที่สุดในด้านเภสัชวิทยาพิษวิทยา ซึ่งในปีนี้ท่านยังรับคัดเลือกให้เป็นราชบัณฑิตยสภาแห่งเอดินบะระ และราชบัณฑิตยสภาสาขาเคมี(RSC) ในปี 2015-16 ยังได้รับรางวัลจากราชบัณฑิตยสภาสาขาเคมี นอกจากนี้ท่านยังได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากหลายหน่วยงานมากกว่า 450 ล้านยูโร เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ในหลายหน่วยงาน และยังเคยเป็นบรรณาธิการวารสาร Nanotoxicology