การประชุมประจำปี ครั้งที่ 1 ของ “โครงการการประเมินผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพในประเทศไทย” เมื่อวันที่ 10 – 11 พฤษภาคม 2561 ณ สถาบันอาชีวเวชศาสตร์ (IOM) เอดินเบอระ ประเทศสก็อตแลด์ สหราชอาณาจักร โดยมีทีมนักวิจัยฝั่งสหราชอาณาจักร จาก สถาบันอาชีวเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแฮเรียต วัตต์ ให้การต้อนรับทีมนักวิจัยจากประเทศไทย ได้แก่ รศ.ดร. ไกรชาติ ตันตระการอาภา รศ.ดร. กาญจนา นาคะภากร ดร. นรุตตม์ สหนาวิน และ นพดล ปรีชา
ศาสตราจารย์ จอห์น เชอร์รี่ ได้กล่าวต้อนรับคณะนักวิจัย และได้มีการแนะนำตัวเองรวมไปถึงบทบาทหน้าที่ในโครงการวิจัย สำหรับวันแรกของการประชุมนั้น ในช่วงเช้าจะเป็นการฝึกอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยเริ่มจาก ฟินตัน เฮอร์เลย์ ได้นำเสนอเกี่ยวกับการใช้ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับมลพิษทางอากาศ และมีการการอภิปรายเรื่อง การประเมินผลกระทบสุขภาพในทางปฏิบัติของประเทศไทยจาก วิลล์ มูลเลอร์ นอกจากนี้ยังได้มีการอภิปรายเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับการประเมินผลกระทบสุขภาพ ความพร้อมของข้อมูล และปัญหาคุณภาพอากาศในประเทศไทย
สำหรับในช่วงบ่าย ศ. จอห์น เชอร์รี่ ได้พูดคุยเกี่ยวกับความสำพันธ์ของผลลัพธ์ทางสุขภาพ และมลพิษทางอากาศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงกว้างทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์นี้ ต่อมาได้มีการพูดคุยหารือเกี่ยวกับวิธีที่จะดำเนินโครงการประเมินผลกระทบสุขภาพสำหรับโครงการ ในช่วงสุดท้ายของการประชุมวันแรก ซูซาน สเตนเล่ห์ ได้ดำเนินการอภิปรายเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานสำหรับการตรวจวัดมลพิษทางอากาศ และได้สาธิตการตรวจวัด PM2.5 ซึ่งจะถูกใช้ในการศึกษาครั้งนี้ด้วย และในช่วงค่ำของวันแรกนั้นได้มีการรับประทานอาหารร่วมกันของทีมนักวิจัย
สำหรับวันที่ 2 ของการประชุม มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับความก้าวหน้าของโครงการ และแผนงานที่จะดำเนินการในอนาคต โดย รศ.ดร. ไกรชาติ ตันตระการอาภา ได้นำเสนอข้อมูลวิกฤตหมอกควันล่าสุดใน กรุงเทพมหานคร จากนั้น วิลล์ มูลเลอร์ ได้นำเสนอภาพรวมของข้อมูลคุณภาพอากาศของประเทศไทย จากกรมควบคุมมลพิษ หลังจากนั้นทีมนักวิจัยก็ได้มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับ แบบจำลองมลพิษทางอากาศในประเทศไทย และความจำเป็นในการรวมข้อมูลทั่วไปในโครงการ โดย ดร. โซติลิส วาดูลากิส
หลังจากพักรับประทานอาหารเที่ยง และได้มีการถ่ายรูปร่วมกันของทีมนักวิจัยจากทั้งสองประเทศ ในช่วงบ่าย รศ.ดร. กาญจนา นาคะภากร ได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ในเบื้องต้นของมลพิษทางอากาศในประเทศไทย โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS ต่อจากนั้นทีมนักวิจัยได้ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ แบบจำลองการรับสัมผัส และแผนการดำเนินงานสำหรับการลงสำรวจพื้นที่ในอนาคต ซึ่งจะเริ่มในปลายปีนี้
สำหรับการประชุมจบลงด้วยข้อสรุปของการอภิปรายและการดำเนินงานตามที่ตกลงกันไว้ ทุกคนในทีมวิจัย TAPHIA พร้อมที่จะเดินหน้าทำกิจกรรมการวิจัยที่จะเกิดขึ้นต่อไป และการประชุมประจำปีครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทยในปี พ. ศ. 2562